เป้าหมายชีวิต

เป้าหมายชีวิต : จุดหมายที่ต้องเริ่มต้นให้ได้ก่อน

เป้าหมายชีวิต คืออะไร?

สำหรับทุกคนในแต่ละช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็น วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน หรือแม้แต่วัยเกษียณ ต่างก็ต้องมีเป้าหมายชีวิต หรือ Life Goals กันทุกคน และต่างก็ต้องเคยผ่านจุดการโดนถามถึงเป้าหมายชีวิตกันแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น โตขึ้นไปอยากเป็นอะไร? เป้าหมายในอนาคตของคุณคืออะไร? และเราก็มักจะได้ยินคำตอบที่แตกต่างกันออกไป ทั้ง อยากเป็นตำรวจ เป็นทหาร ข้าราชการ อยากเป็นนักธุรกิจพันล้าน มีเงินเยอะๆ ซื้อบ้านซื้อรถ และแม้กระทั่ง อยากเป็นนักบินอวกาศ อยากเป็นนักกีฬาทีมชาติ และอีกมากมาย ที่อาจไม่สามารถเขียนบรรยายออกมาได้หมด แม้จะใช้เวลาหลายวันก็ตาม

เป้าหมายชีวิต ที่ล่องลอย

เชื่อหรือไม่ว่า เด็ก 100 คนที่ถูกถามถึง เป้าหมายชีวิต เด็ก 99 คน มักจะเป็นการแสดงเป้าหมายชีวิตแบบ “ลอยๆ” โดยที่ไม่มีการกำหนดวางแผน เพื่อบรรลุไปยังเป้าหมายชีวิตแม้แต่นิดเดียว ตัวอย่างเช่น หากถูกถามถึงเป้าหมายชีวิต และ เด็กก็ตอบว่าอยากเป็น “Youtuber” แต่พอถามถึงทำอย่างไรจะไปถึงจุดนั้นได้ กลับไม่มีแผนการณ์ที่จะทำให้เป้าหมายนั้นเป็นไปได้ ทำให้ท้ายที่สุด เป้าหมายชีวิตที่ออกจากปากของพวกเด็กเหล่านั้น กลับกลายเป็นสิ่งที่อาจดูไม่มีทางเป็นจริงเลย

 

เป้าหมายชีวิต

 

เป้าหมายชีวิตที่ขัดกับพ่อแม่

ถัดไปก็คือแม้เด็กจะตั้งเป้าหมายชีวิตที่ดีแล้ว แต่กลับกลายว่า เป้าหมายที่ขัดกับความต้องการของพ่อแม่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีมาแต่โบราณ อาจจะมีรายละเอียดที่มากกว่าสำหรับในยุคปัจจุบัน อย่างเช่น เด็กสมัยนี้มีความฝันอยากเป็น Youtuber หรืออยากเป็น นักเต้น (เต้น Cover , K-POP) ซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อแม่หลายคนอาจไม่เข้าใจถึงเป้าหมายที่ดูไม่มีอนาคต (สำหรับพ่อแม่) แทนที่จะเอาเวลาไปสนใจสิ่งเหล่านั้น เอาเวลาไปอ่านหนังสือ ตั้งใจเรียน เพื่อที่จะได้มีอาชีพที่มั่นคง เป็นข้าราชการ, หมอ , ตำรวจ , ทหาร รวมไปถึง นักบัญชี , นักการเงิน และอื่นๆ ที่พ่อแม่เข้าใจว่าจะต้องดีที่สุดสำหรับเด็ก แต่หลายครั้งกลับกลายเป็น สิ่งที่ พ่อแม่ไม่ควร ทํา กับลูกวัยรุ่น

ลูกของคุณเป็นเด็กประเภทไหน

แต่ก่อนที่พ่อแม่จะเริ่มขัด เป้าหมายในชีวิตของเด็กๆ อยากให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ลองสำรวจความคิด พฤติกรรมที่ผ่านมาของเด็กๆ ก่อนที่จะเริ่มขัดขวาง หรือแม้แต่สนับสนุน แม้กระทั่งศึกษาถึงเป้าหมาย ความฝันของเด็กๆ ว่ามีความเป็นไปได้แค่ไหน และที่สำคัญที่สุดพ่อแม่ต้องทราบก่อนว่าลูกของเราเป็นเด็กประเภทไหน หลายครั้งอาจจะต้องมีการปรับ Mindset ที่ดี กันบ้าง

ไม่ยอมแพ้ มุ่งมั่น

เด็กประเภทนี้ จะเป็นประเภทที่ว่า จะเหนื่อยแค่ไหน จะยากแค่ไหน ก็จะพยายามอย่างเต็มที่ ไม่มีทางล้มเลิกความตั้งใจ และจะสู้จนสุดทาง ไม่เปลี่ยนเป้าหมายที่วางเอาไว้ง่าย ๆ

ชอบเรียนรู้ แต่เบื่อง่าย

เด็กประเภทนี้จะพบ “มาก” ที่สุดในสังคม โดยมักจะมีความตื่นเต้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา แต่ก็มักจะสนใจได้ไม่นาน พยายามได้ไม่นาน ก็จะรู้สึก “เบื่อ” และก็ล้มเลิกความตั้งใจได้ง่าย อีกเหตุผลที่เด็กเป็นแบบนั้น อาจจะเป็นเพราะว่าเป้าหมายยังไม่ชัดเจนพอนั่นเอง

 

เป้าหมาย

 

การหาเป้าหมายแบบง่าย ๆ

สำหรับหลายคนการหาเป้าหมายในชีวิตไม่ใช่เรื่องยาก สามารถใช้เวลาเพียงไม่นานในการเริ่มต้นการคิดวางแผน แต่สำหรับใครก็ตามที่ “พยายาม” ค้นหาเป้าหมายในชีวิตอยู่ และยังไม่สามารถ ค้นหาตัวเอง ได้ เรามีหลักการหาเป้าหมายที่เราเรียกว่า “การคิดจากวงในไปสู่วงนอก” โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ นั่นก็คือ “คิด” และ “พูด” รวมไปถึง “การเคลื่อนไหว” ถ้าหากเด็กเป็นคนชอบ “คิด” โดยการคิด สามารถแยกแยกย่อยออกไปได้อีก ไม่ว่าจะเป็น คิดวางแผน , คิดคำนวณ, คิดสร้างสรรค์, คิดวิเคราะห์, คิดแก้ปัญหา เป็นต้น และจากที่สิ่งเราได้มาจาก “วงแรก” ยกตัวอย่าง ถ้าเด็กเป็นคนชอบคิดคำนวณ ในอนาคตก็สามารถสนับสนุนให้เดินไปในทางของ นักบัญชี หรือ นักคณิตศาสตร์ เป็นต้น เช่นเดียวกับ การพูด และ การเคลื่อนไหว สามารถแตกแยกย่อยออกไปได้หลากหลายแขนง เพื่อนำไปสู่เป้าหมายในชีวิตที่เด็กกำลังค้นหา ซึ่งหากใช้วิธีนี้ในการค้นหาเป้าหมาย จะช่วยให้หาเป้าหมายได้ง่ายมากขึ้น

ช่วยลูกวางแผนกับเป้าหมายชีวิต

แน่นอนว่าทุกคนทราบเป็นอย่างดี ทุกอย่างในชีวิตไม่มีอะไรที่จะ 100% ทำตามแผนได้ทุกอย่าง แต่ละคนจะไปถึงเป้าหมายในชีวิต หรือจะสามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้มากน้อยแตกต่างกันไป แต่ทุกแผนที่เราวาง ทุกวิธีที่เราเลือก ทุกสิ่งที่เราทำ จะเป็นก้าวเล็กๆ ทีละก้าว ที่เพิ่มโอกาสในความสำเร็จให้เข้าใกล้ 100% มากที่สุด

ดังนั้นการ “วางแผน” จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก แต่เนื่องจากเด็กที่ยังไม่มีประสบการณ์ที่สั่งสมมามากนักดั่งเช่นพ่อแม่ พ่อแม่ก็จำเป็นต้องช่วยชี้แนะการวางแผนอย่างไร ถ่ายทอดจากประสบการณ์ชีวิตของพ่อแม่ที่ได้เรียนรู้มาในอดีต แต่เช่นเดียวกัน สำหรับพ่อแม่ก็ไม่ได้มีประสบการณ์ในยุค “ใหม่” ที่หลาย ๆ อย่างเปลี่ยนแปลงไปหมดแล้วจากอดีต ดังนั้นการช่วยกันวางแผนโดยมีประสบการณ์ชีวิตของพ่อแม่ และประสบการณ์ในยุคใหม่ของเด็ก ช่วยกันผสมผสานช่วยกันวางแผนกับเป้าหมายในชีวิตจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมมากที่สุด เพื่อช่วยให้เด็กเข้าใกล้เป้าหมายได้มากที่สุด และยังเป็นการ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก ได้อย่างง่ายอีกด้วย

เข้าใจความสนใจและความต้องการของลูก

การวางเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ อาจจะสามารถเริ่มต้นจากการรู้จักและทำความเข้าใจความสนใจ และความต้องการของลูก ให้เวลากับลูกในการสำรวจและค้นหาสิ่งที่พวกเขาชอบ ไม่ว่าจะเป็นกีฬา ดนตรี ศิลปะ หรือวิทยาศาสตร์ แม้แต่เรื่องอื่น ๆ ที่ไม่สำคัญก็ตาม เมื่อคุณเข้าใจถึงความสนใจเหล่านั้นแล้ว คุณจะสามารถช่วยพวกเขากำหนดเป้าหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

กำหนดเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงและวัดผลได้

เป้าหมายที่ดี คือเป้าหมายที่ “ชัดเจน” และสามารถวัดผลได้ ให้คำแนะนำลูกในการกำหนดเป้าหมายที่ไม่เพียงแต่สะท้อนถึงความสนใจของพวกเขาเท่านั้น แต่ยังมีความท้าทายพอสมควร

วิธีการไปถึงเป้าหมาย

หลังจากวางแผนการนำทางไปสู่เป้าหมายในชีวิตแล้ว เราก็จะมาเลือกวิธีการนำไปสู่เป้าหมายนั้นๆ ลองให้เด็กคิดวิเคราะห์ดูว่า มีวิธีการใดบ้างที่จะช่วยให้เค้าบรรลุเป้าหมาย จะเป็นวิธีทางตรง วิธีทางอ้อม พ่อแม่ก็ควรช่วยแนะนำข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธีการ แล้วปล่อยให้เด็กเป็นผู้ตัดสินใจเลือกวิธีการที่เค้าคิดว่าเหมาะกับเค้า ให้เค้าลองผิดลองถูก โดยมีคุณพ่อคุณแม่คอยให้คำปรึกษา ปล่อยเค้าได้เลือกทำเอง หากเกิดความผิดพลาดขึ้น เด็กก็จะได้เรียนรู้ผลลัพธ์และวิธีแก้ปัญหา

จัดการเวลาและความล้มเหลว

การบริหารเวลาเป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้ลูกคุณบรรลุเป้าหมายได้สำเร็จ นอกจากนี้ สอนให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะรับมือกับความล้มเหลว ทำให้พวกเขาเห็นว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้และโอกาสในการพัฒนา ทุกคนต่างเคยล้มเหลวมาแล้วทั้งสิ้น แต่วิธีการับมือกับความล้มเหลวนี้แหละคือสิ่งสำคัญ

ช่วยประเมิน และปรับเป้าหมายตามการพัฒนา

เป้าหมายควรมีความยืดหยุ่น และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามพัฒนาการของลูก จัดทำการประเมินอย่างสม่ำเสมอและปรับเปลี่ยนเป้าหมายให้เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจในปัจจุบันของพวกเขา

สรุป เรื่องของ เป้าหมายชีวิตของลูก

สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรปิดกั้น คือการเรียนรู้ต่างๆ ของเด็กในระหว่างทางที่นำไปไปสู่เป้าหมายชีวิต บางอย่างก็เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์เดิมที่ส่งต่อจากคุณพ่อคุณแม่ บางอย่างก็อาจเป็นสิ่งที่พ่อแม่ไม่รู้จัก ไม่คุ้นเคย ไม่เชี่ยวชาญและคุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดว่าประสบการณ์ที่เด็กจะได้เรียนรู้จากสิ่งนี้ อาจจะไม่มีประโยชน์ในอนาคต ต่อยอดไม่ได้ แต่ในอนาคตของพวกเขา สิ่งเหล่านี้อาจจะถูกพัฒนากลายเป็น Hard Skill หรือ Technical Skill ในเรื่องบางอย่างใด้ในที่สุด อย่างเช่น Skill การทำคอนเทนต์ต่างๆ , Skill การตัดต่อ VDO , Skill การยิงแอดโฆษณา และสิ่งที่เด็กๆ เหล่านี้จะได้รับไปเต็มๆ ก็คือ Soft Skill ซึ่งก็คือความมั่นใจ ความเข้าใจ การจัดการสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการอารมณ์ของตัวเอง รวมไปถึงการคิดวิเคราะห์ การคิดวางแผนต่างๆ ในระหว่างที่เขากำลังทำสิ่งที่เขาชอบ สิ่งนี้แหละคือสิ่งที่สำคัญที่สุด และอาจจะยังสามารถช่วยพัฒนา ทักษะชีวิต ได้อีกด้วย จะเห็นได้ว่าหากคุณพ่อคุณแม่สามารถเข้าใจลูก และยืนสนับสนุนเขาอย่างที่ควรจะเป็น เด็กๆ ก็จะรู้ไม่รู้สึกว่า บ้านไม่ใช่เซฟโซน เวลาเขามีปัญหากับชีวิตก็จะมีความกล้าที่จะเข้ามาปรึกษาคุณพ่อคุณแม่ได้ตลอดเวลา

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.